วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

[สาระ] รวมพันธุ์ไดโนเสาร์ใน Jurassic World ทั้งหมด

       สวัสดีครับชาวพันทิปทุกท่าน ทีวีไดเร็กต์ขอเสนอ...ชาลาเฮ็ดชาลา รวมสายพันธุ์ไดโนเสาร์ใน Jurassic World ทั้งหมดครับ
คำเตือน โปรดกด Pause แล้วอ่านก่อน เนื้อหาในกระทู้นี้อาจมีการเปิดเผยสาระสำคัญของภาพยนตร์ (พูดง่ายๆว่าอาจมีสปอยล์)
กระผมจะใส่ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ครอบเอาไว้ แต่ถ้ากลัวจะอดใจไม่ไหว แนะนำให้ปิดกระทู้แล้วไปดูหนังก่อนนะครัช
ปล. เอาจริงๆก็จะพยายามไม่ให้มีสปอยล์นะครับผม

เพี้ยนไฟลุก

          เอาล่ะ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า ...แถ่น แทน แท้นนนนนนน



Indominus Rex (อินดอมินัส เร็กซ์; ผมอ่านถูกมั้ยเนี่ย)

          มาเริ่มกันที่ดาวร้ายกันก่อนเลย Indominus Rex ไดโนเสาร์ตัวนี้ไม่มีอยู่จริง ซึ่งหลายๆคนก็คงรู้กันอยู่แล้วล่ะฮะ เพราะ Trailer ก็ได้บอกคร่าวๆไว้แล้ว แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ มันสร้างมาจากอะไรต่างหาก จากที่ผมเข้าไปเก็บเกี่ยวเนื้อหาในโรงภาพยนตร์ถึง 2 รอบ รวมทั้งหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ปรากฎว่าเจ้าอินดอมินัสเนี่ย เป็นสัตว์ที่ถูกตัดต่อพันธุกรรมมาได้หลากหลายสายพันธุ์มาก (มันไม่กลายเป็นเอเลี่ยนก็ดีเท่าไหร่แล้ว -_-)


Informations
          - ประเภท กินเนื้อ
          - ความสูง 5.5 เมตร (18 ฟุต)
          - ความยาว 12-15 เมตร และเติบโตเรื่อยๆ ถ้ายังไม่ตายซะก่อน
          - น้ำหนัก ไม่ระบุ (แต่แหม...ใหญ่ขนาดนี้ เป็นตันอยู่แล้วล่ะ)

ส่วนรายละเอียดของสายพันธุ์ที่เอามาไฮบริดก็มีดังนี้นะครับ
          1) Tyrannosaurus Rex หรือ T-Rex นั่นเอง สายพันธุ์นี้จะเป็นเบสจีโนม เพราะงั้นในส่วนของร่างกาย จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับ T-Rex นั่นเองครับ (ซึ่งเราก็จะข้ามๆไปในส่วน Genetic Engineering ก็แล้วกัน) สำหรับรายละเอียดของเจ้าตัวนี้จะอยู่ในหัวข้อถัดไปนะครับ เพราะตัวนี้ก็เป็นตัวเด่นในเรื่องด้วยเช่นกัน ส่วนจะเด่นยังไงนั้น รับชมได้ในโรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านทุกสาขานะครับ ^^ ตอนนี้ก็รับชมรูปแก้หิวไปพลางๆก่อนเนอะ


          2) Velociraptor สำหรับเจ้าสายพันธุ์สมองใสพันธุ์นี้ รายละเอียดก็จะอยู่ในหัวข้อถัดๆไปเช่นกันครับ เพราะตัวมันเองก็เป็นตัวหลักในเรื่องนี้เช่นกัน เหล่าสัตว์เลี้ยงของสตาร์-ลอร์ด *0* อืม...ผมว่าแขนที่อินดอมินัสมันเอามาใช้ประโยชน์ได้ น่าจะมาจากแรปเตอร์นี่แหละ ไม่น่าจะมาจากตัวอื่นแล้วล่ะ


          3) Carnotaurus หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carnotaurus sastrei โอเค ถ้าใครเคยดูการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่อง Dinosaur (2000) คุณต้องรู้จักตัวนี้แน่นวล วายร้ายสองพี่น้องฟันแหลม ที่โดนหินในถ้ำทับตายตัวนึง แล้วอีกตัวนึงก็ตกเหวตายอย่างอนาถนั่นล่ะฮะ ใช่เลย เจ้าคาร์นอทอรัสเนี่ยเคยอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้ ในช่วงปลายยุคครีเตเชียสเมื่อประมาณ 69.9-72 ล้านปีมาแล้วครับ เป็นสัตว์กินเนื้อ ความสูงประมาณ 3.5 เมตร ความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 6-9 เมตร น้ำหนักโดยประมาณอยู่ที่ 1 ตัน โครงกระดูกของเจ้าตัวนี้ถูกพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1984 ที่อาร์เจนติน่า และแน่นอน มันมีเขา!! เพราะงั้นจึงเป็นที่มาของชื่อมันนั่นเองครับ เพราะเขาของมันมีลักษณะคล้ายวัว ภาษาละติน Carno หมายถึงเนื้อ และ Taurus แปลว่าวัว (ราศีพฤษภก็เช่นกัน) ชื่อของมันจึงมีความหมายว่า "วัวกินเนื้อ" ...เรื่องนี้ต้องถึงหูเจ้าแม่แน่นอน!!


          4) Giganotosaurus หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Giganotosaurus carolinii ตอนผมหาข้อมูล ผมชอบชื่อเจ้าตัวนี้มากเลย มันแปลว่า จิ้งจกยักษ์แห่งแดนใต้ โคตรเท่ห์อ่ะ เหตุที่มันได้ฉายาว่าจิ้งจกยักษ์ เพราะจากโครงกระดูกที่ค้นพบ ว่ากันว่าเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อที่ตัวใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้ (เฉพาะตัวรูปร่างแบบนี้นะ T-Rex Body อะไรงี้ แบบงูยักษ์ หรือจระเข้ยักษ์ อันนั้นไม่นับ) ฟอสซิลถูกค้นพบที่อาร์เจนติน่าเช่นเดียวกับคาร์นอทอรัสครับ สัณนิษฐานว่าเจ้าตัวนี้เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส เมื่อประมาณ 99.6-97 ล้านปีก่อน กินเนื้อ ความสูงประมาณ 3-4 เมตร ความยาวประมาณ 12-13 เมตร น้ำหนักประมาณ 6-10 ตัน ใหญ่เอาเรื่องเหมือนกันนะเนี่ย


          5) Majungasaurus หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Majungasaurus crenatissimus มันคือไก่ใช่มั้ย?? ผมไม่รู้ว่ามาฮาจังก้ามันแปลว่าอะไร แต่ผมฮามาก ฟอสซิลของเจ้าตัวนี้ถูกค้นพบที่มาดากัสก้า โอเค...ชื่อมันอาจจะเพี้ยนมาจากเกาะนี้ก็ได้ มาดากัสก้า-มาฮาจังก้า อืม...มีเหตุผล มันเคยอาศัยอยู่ในช่วงบั้นปลายของยุคครีเตเชียสเลยทีเดียว ก็ราวๆ 66-70 ล้านปีก่อน (ยุคครีเตเชียส สัณนิษฐานว่าอายุประมาณ 66-145 ล้านปีก่อนครับ) ประมาณว่าเกิดปุ๊บก็ ตู้มมม!!! อุกกาบาตชนโลก กลายเป็นโกโก้ครั้นช์เลย เจ้าตัวนี้เป็นนักล่าที่ค่อนข้างตัวเล็กครับ สูงประมาณ 2 เมตรเท่านั้นเอง ความยาวประมาณ 7 เมตร น้ำหนักประมาณ 1.1 ตันครับ


          6) Rugops หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rugops primus เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่อาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียสเช่นกัน ประมาณ 95 ล้านปีมาแล้ว ความยาวประมาณ 6 เมตร ความสูงและน้ำหนักไม่ระบุ แต่คาดว่าน่าจะเล็กพอๆกับมาจังก้านั่นล่ะฮะ โครงกระดูกถูกพบครั้งแรกในประเทศ Niger (มันอ่านว่าอัลไล?? -..-) ทวีปแอฟริกาครับ สัณนิษฐานว่ามันน่าจะเป็นสัตว์ที่กินซาก มากกว่าที่จะออกไปไฝ้ว์แบบ T-Rex นะครับ ผมว่าไอตัวนี้มันไม่น่าเอามาเสริมให้อินดอมินัสเลยให้ตายเถอะ


          และนอกจากเหล่าไดโนเสาร์ที่กล่าวมาทั้งหมด ที่ถูกคัดเลือกยีนมาไฮบริดแล้ว ยังมีสัตว์โลกปัจจุบันเสริมเข้าไปด้วยถึง 3 สายพันธุ์ นั่นก็คือปลาหมึก (จริงๆต้องเรียกว่าหมึก เพราะมันไม่ใช่ปลา แต่เอาชื่อที่คุ้นหูแล้วกัน) กบต้นไม้ ไม่ทราบสายพันธุ์ และ งู ไม่ทราบสายพันธุ์อีกเช่นกัน [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



Tyrannosaurus Rex (ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์; เร็กซี่)


          มาถึงตัวเอกของเรากันแล้ว ตัวนี้ผมชอบมากที่สุดในเรื่องนี้เลยก็ว่าได้ ถึงแม้ผมจะเคืองๆตอนต้นเรื่อง ที่โผล่มาให้เห็นแค่ส่วนหัวก็ตาม [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เร็กซี่ตามเนื้อเรื่องแล้ว คือ T-Rex จาก Jurassic Park ครับ 22 ปี ผ่านไป ไม่รู้ว่านางอายุเท่าไหร่แล้ว ที่แน่ๆนางแก่ขึ้นมา 22 ปี นั่นแหละ แต่ความเก๋ายังคงมีอยู่ Tyrannosaurus Rex นั่นก็เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ในตัวอยู่แล้ว คำว่า tyrannos นั้นมาจากภาษากรีก แปลว่า ทรราช ส่วน saurus แปลว่ากิ้งก่า ส่วนคำว่า rex นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่าราชา รวมกันเป็น ราชากิ้งก่าจอมอหังการ์

          T-Rex เคยอาศัยอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส ประมาณ 66-68 ล้านปีก่อน เป็น 1 ในไม่กี่สายพันธุ์ที่ทันเห็นยุคสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์นะครับ กายวิภาค กะโหลกศีรษะค่อนข้างใหญ่ จึงต้องสร้างสมดุลด้วยการที่มีหางและขาหลังขนาดใหญ่ แต่จุดบัคจุดเดียวในร่างกายคือมือ!! ขาหน้านั่นล่ะ กลับมีขนาดเล็กมาก ไม่รู้มันเอาไว้ทำอะไร

          ตามเนื้อเรื่องแล้ว T-Rex จะมองหาเหยื่อโดยการมองสิ่งที่เคลื่อนไหว (มันเคยสับสนใบไม้ไหวเพราะลมบ้างหรือเปล่านะ?) [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ทุกวันนี้ในทางวิชาการยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า จริงๆแล้ว T-Rex นั้นเป็นนักล่าผู้เกรียงไกร หรือจอมกินซากผู้หิวโหยกันแน่ ...แต่ดูจากขนาดตัวและความน่าเกรงขามแล้ว เอ็งอยู่สายบู๊มาถูกทางแล้ว ตามกินซากนี่เสียไดโนเสาร์หมด


Informations
          - ประเภท กินเนื้อ
          - ความสูง 6 เมตร (20 ฟุต)
          - ความยาว 12.8 เมตร (42 ฟุต)
          - น้ำหนักประมาณ 6.9-9 ตัน



Velociraptor (เวโลซีแรปเตอร์)


          มันอาจไม่ใช่นักล่าที่ตัวใหญ่ น่าเกรงขาม แต่ถ้าเลือกได้ ไม่เจอมันเลยจะดีกว่า เพราะถ้ามันหมายตาคุณแล้ว ก็เป็นการยาก...ที่จะรอดไปจากเงื้อมมือ เอ่อ...แขนและกรงเล็บของมันได้

          Velociraptor นักล่าจากบรรพกาล คำว่า Raptor แปลว่า นกนักล่า เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีความฉลาดเฉลียวและว่องไวมาก มักออกล่ากันเป็นกลุ่มเหมือนฝูงหมาป่า คอยไล่ต้อนเหยื่อไปจนถึงจุดอับ จากนั้นจึงจัดการเผด็จศึก พวกมันเคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ก่อนหน้าที่ได้กล่าวไป ช่วงเวลาประมาณ 71-75 ล้านปีมาแล้ว



          สำหรับในภาพยนตร์ Jurassic World นั้น แรปเตอร์มีทั้งหมด 4 ตัวด้วยกัน นั่นก็คือ Blue Charlie Delta และ Echo โดยมีผู้ฝึกสอนคือโอเว่น สตาร์-ลอร์ด พระเอกของเรื่องนั่นเอง แรปเตอร์แต่ละตัวมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันไป เนื่องด้วยยีนที่เอามาเสริมของแต่ละตัวนั้น มาจากสัตว์ต่างชนิดกันนั่นเอง

Mosasaurus (โมซาซอรัส)


          กิ้งก่ายักษ์แห่งท้องทะเล โมซาซอรัสเคยอาศัยอยู่ในทะเลเมื่อประมาณ 66-70 ล้านปีก่อน ในช่วงของปลายยุคครีเตเชียสนั่นเอง ฟอลซิลของเจ้ากิ้งก่าทะเลตัวนี้ ถูกพบครั้งแรกที่เนเธอร์แลนด์ ปี ค.ศ.1764 ฟอลซิลของโมซาซอรัสนั้น ถูกพบในหลายพื้นที่ทั่วโลก เพราะมันอาศัยอยู่ในทะเลนั่นแหละ พูดง่ายๆว่า ทะเลอยู่ที่ไหน โมซาซอรัสก็อยู่ที่นั่น ขนาดเล็กที่สุดที่เคยพบ ความยาวประมาณ 3-3.5 เมตร และขนาดที่ใหญ่ที่สุด ความยาวประมาณ 9-15 เมตรเลยทีเดียว

          สำหรับในภาพยนตร์นั้น โมซาซอรัสมีความยาวถึง 18 เมตร!! ขนาดมหึมาจริงๆ มันเป็นสัตว์กินเนื้อที่กินได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นนกทะเล ฉลาม ปลาขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งกินพวกเดียวกันเอง ส่วนบทบาทในภาพยนตร์นั้น ไม่ได้มีไว้แค่โชว์ตอนกินฉลามแน่ๆ ส่วนมันจะมีบทบาทไหนเพิ่มเติม ก็ไปดูได้ที่โรงภาพยนตร์ใกล้บ้านท่านนะครับ ส่วนใครที่ไปดูมาแล้ว คงเข้าใจนะครับ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

เม่านอนไม่หลับ




Apatosaurus (อพาโทซอรัส)


          ถ้าไดโนเสาร์กินเนื้อในดวงใจของผมคือ T-Rex ไดโนเสาร์กินพืชในดวงใจก็คงไม่พ้นไดโนเสาร์คอยาวตัวนี้ ด้วยรูปร่างขนาดมหึมา และหางอันทรงพลังที่สามารถฟาดได้ดั่งใจนึก ทำให้นักล่าน้อยรายนักที่กล้าเผชิญหน้ากับมัน

          อพาโทซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่เคยอาศัยอยู่ในช่วงยุคจูราสสิค เมื่อประมาณ 135-190 ล้านปีที่แล้ว เป็นสัตว์กินพืชขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 9-12 เมตร (30-40 ฟุต) ความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 20-27 เมตร (65-89 ฟุต) น้ำหนักประมาณ 20 ตัน ตามทฤษฎีจากในนิยาย อพาโทซอรัสมีหัวที่ยาว จึงต้องมีหางที่ยาวมาก เพื่อให้เกิดสมดุล และยังสามารถใช้หางฟาดใส่คู่ต่อสู้ได้อีกด้วย

          [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



Triceratops (ไตรเซอราท็อปส์)


          ไตรเซอราท็อปส์ แรดสามเขา ชื่อในภาษากรีกหมายถึง หน้าสามเขา (น่าจะแปลแบบนี้นะ) เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส เมื่อประมาณ 66-68 ล้านปีก่อน เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์กลุ่มสุดท้ายก่อนจะถึงยุคสูญพันธุ์ เป็นสัตว์กินพืช มีเขาบริเวณเหนือดวงตาและเหนือจมูก และยังมีแผงคอขนาดใหญ่ ความสูงประมาณ 3 เมตร (10 ฟุต) ความยาวตั้งแต่หัวจรดหางประมาณ 10 เมตร (33 ฟุต) น้ำหนักประมาณ 8-10 ตัน

          ไตรเซอราท็อปส์ ก็เหมือนสัตว์กินพืชทั่วไปที่เราพบเห็นได้ในปัจจุบัน คือ มันจะกลืนหินลงไปในท้องเพื่อช่วยบดพืชที่มันกินเข้าไปอีกด้วย มันเป็นสัตว์อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่นักล่าไม่กล้าตอแย เพราะมันอยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อเจอศัตรูมันจะยืนหันหน้าเรียงกัน โดยปกป้องตัวที่อ่อนแอไว้ข้างหลัง (ถ้าใครเคยดู Dinosaur ก็มีฉากนี้ด้วยนะครับ) ถ้าศัตรูยังกล้ามาแหยม ผมว่าคงโง่เต็มทนแล้วล่ะ ตายๆไปเถอะ - -"


          [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้



Stegosaurus (สเตโกซอรัส)


          ชื่อน่ากินมาก ไม่ใช่ละ สเตโกซอรัส แปลว่า กิ้งก่าที่มีหลังคา เป็นสัตว์กินพืชที่มีเกราะป้องกันตัว รวมทั้งหนามที่ปลายหางด้วย เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูราสสิค ประมาณ 150-155 ล้านปีมาแล้ว ความสูงประมาณ 4 เมตร (13 ฟุต) ความยาวจากหัวจรดปลายหางประมาณ 9 เมตร (30 ฟุต) น้ำหนักประมาณ 4 ตัน

          เกราะหนามบนหลังของมัน นอกจากมีไว้ป้องกันตัวแล้ว ตามทฤษฎี มันยังมีไว้เพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอีกด้วย อาหารของมันคือไม้พุ่มต่างๆ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ความเชื่อผิดๆในสมัยก่อน มักจะคิดว่าสเตโกซอรัสมีหัวสมองเท่ากับเมล็ดถั่ว แต่จากการใช้ CT Scan แล้วพบว่าสมองของมันใหญ่กว่านั้นมาก คือขนาดประมาณลูกแมว และนอกเหนือจากนั้น ไดโนเสาร์แทบทุกชนิดจะมีสมองไว้สองส่วนเป็นอย่างน้อย สมองส่วนแรกเป็นเหมือนเซิร์ฟเวอร์หลัก คอยควบคุมระบบทั่วๆไป และสมองส่วนที่สองช่วยควบคุมในเรื่องของการเคลื่อนไหวอีกทีนึงครับ (ภาพยนตร์เรื่อง Pacific Rim ก็อ้างอิงทฤษฎีสมองของไดโนเสาร์เช่นกันครับ)



Gallimimus (กัลลิมิมัส)


          นะ...นี่มัน นกกระจอกเทศชัดๆ!! มันได้รับสมญาว่า ไก่เลียนแบบ มันเท่ตรงไหนเนี่ย?? วีรกรรมจากที่เห็นในภาพยนตร์ของมันก็คือ วิ่ง วิ่ง แล้วก็วิ่ง เอ๋วิ่งดิเอ๋วิ่ง -..- ความเร็วในการวิ่งของมันพอๆกับเสือชีต้าห์เลยทีเดียว ตามทฤษฎีว่ากันว่ามันกินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่มันไม่มีฟัน ผมเลยชักสงสัยว่า ถ้าไม่มีฟัน มันจะกินเนื้อได้ยังไง เอาริมฝีปากขบเอาเรอะ

          มาดูที่กายวิภาคกันบ้าง กัลลิมิมัสมีความสูงประมาณ 2 เมตร ความยาวประมาณ 8 เมตร น้ำหนักประมาณ 160-440 กิโลกรัม เกือบๆครึ่งตันเลยนะนั่น เจ้าตัวนี้ยังได้ฉายาจอมขโมยไข่ด้วย (อืม ชื่อค่อยดูดีขึ้นมาหน่อย) เพราะนักบรรพชีวิตสัณนิษฐานเอาจากความยาวของมือ อาจจะมีไว้ขุดหาพวกสัตว์หรือแมลงใต้ดิน รวมทั้งมีไว้ขโมยไข่ไดโนเสาร์มากินอีกด้วย [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

Pteranodon (เทอราโนดอน)


          เทอราโนดอน ตามภาษากรีก มีความหมายว่า Toothless wing หรือก็คือ มีปีก ไม่มีฟัน เป็นคอนเซ็ปต์ครับ เหมือนละลายในปาก ไม่ละลายในมือ เคยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส แถบๆอเมริกาเหนือในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 66 ล้านปีก่อน เมื่อมันยืนตรง จะมีความสูงประมาณ 2 เมตร ไม่ค่อยสูงเท่าไหร่ แต่เมื่อกางปีกออก ความกว้างของปีกของมันจะอยู่ที่ประมาณ 8-10 เมตร ถือว่ากว้างมากทีเดียว น้ำหนักตัวประมาณ 25 กิโลกรัม 

          นอกจากรูปพรรณสัณฐานแล้ว สิ่งที่ทำให้เทอราโนดอนมีน้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับไดโนเสาร์พันธุ์อื่นๆ (ที่เมื่อโตเต็มที่ น้ำหนักอย่างน้อยต้องครึ่งตัน) เพราะโครงกระดูกของเทอราโนดอนมีความกลวง เหมือนนกในปัจจุบันนั่นเองครับ ไม่งั้นมันก็บินไม่ได้ล่ะเนอะ ส่วนในภาพยนตร์นั้น มันมีวีรกรรมที่เด็ดมาก จนคนดูลืมไม่ลงเลยครับ



Dimorphodon (ดิมอร์โฟดอน)


          ดิมอร์โฟดอนนั้น จะค่อนข้างต่างกับเทอราโนดอน ดิมอร์โฟดอนนั้นจะอยู่ในช่วงต้นของยุคจูราสสิค เป็นเทอโรซอร์ยุคแรกๆเลยก็ว่าได้ ลักษณะทางกายวิภาคของมันจึงมีลักษณะหางที่ค่อนข้างยาว และปีกจะแคบกว่าเทอโรซอร์ในยุคหลังๆอย่างเทอราโนดอน ขนาดตัวค่อนข้างเล็ก (ตอนเห็นในโรงหนังครั้งแรก เห็นแว้บๆยังเข้าใจว่ามันคือลูกของเทอราโนดอนนะนั่น) มีจะงอยปากและฟันเรียงเป็นแถว ในขณะที่เทอราโนดอนไม่มีฟันครับ จิกอย่างเดียว ลักษณะโดยทั่วไปของดิมอร์โฟดอน ความสูงอยู่ที่ประมาณ 1 เมตร ความกว้างของปีกโดยประมาณเกือบๆ 2 เมตร [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


Ankylosaurus (แองคีโลซอรัส)


          แองคีโลซอรัส เคยอาศัยอยู่ในช่วงยุคปลายของยุคครีเตเชียส ประมาณ 66-68 ล้านปีมาแล้ว ในทวีปอเมริกาเหนือ แถวๆแคนาดาโน่นครับ ซึ่งฟอสซิลถูกพบครั้งแรกที่นั่นเมื่อปี ค.ศ.1906 (แต่ถูกตั้งชื่อในปี 1908 นี่คิดชื่อนานขนาดนั้นเลยเรอะ 2 ปีเลยนาเฮ้ย) แต่จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นักบรรพชีวิตก็ยังบอกว่า ฟอสซิลของเจ้าตัวนี้ยังไม่สมบูรณ์นะครับ

          ไดโนเสาร์ตระกูลนี้เป็นเหมือนรถถังหุ้มเกราะ มีเกราะหนามรอบทิศทาง และมีลูกตุ้มอยู่ที่ปลายหางไว้ฟาดใส่ศัตรู ถ้าคนโดนเข้านี่เละแน่นอน หนามรอบตัวนั้นคือกระดูกที่ยื่นออกมา แต่เกราะหนาๆบนหลังของมันเป็นเคราตินครับ เหมือนเล็บคนนี่แหละ เพราะงั้นเวลานักล่า ถ้าอยากลองของแปลก ต้องจับมันหงายท้องเหมือนเม่นหรือตัวนิ่มก่อนครับ ในสารคดีก็เคยทำแบบจำลองให้ดูเช่นกัน ถ้าใครชอบดูสารคดีบรรพชีวิตอะไรทำนองนี้นะครับ[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

          ลักษณะทางกายภาพ แองคีโลซอรัสเป็นสัตว์กินพืช ความสูง (รวมหนาม) ประมาณ 2-3 เมตร ความยาวตั้งแต่หัวจรดหางอยู่ที่ประมาณ 10-11 เมตร ปากคล้ายนกแก้ว รูปร่างลำตัวออกไปทางกว้าง ไม่ได้สูงแบบสเตโกซอรัส แต่น้ำหนักตัวมหาศาลเลยครับ 4-6 ตัน ด้วยน้ำหนักขนาดนี้ ต่อให้นักล่าตัวใหญ่ขนาดไหน ถ้าเจอลูกตุ้มเข้าไปเต็มๆ ยังไงอย่างน้อยๆ กระดูกหักแน่นอนครับ


Pachycephalosaurus (พาคีเซฟาโลซอรัส)


          ชื่อมันยาวมาก ชื่อในภาษากรีกที่เป็นรากศัพท์ รวมๆแล้วแปลว่า กิ้งก่าหัวแข็ง แต่ผมขอเรียกมันว่าไอ่เหม่งก็แล้วกันนะครับ ไอ่เหม่งเนี่ย เกิดในปลายยุคครีเตเชียสเหมือนไดโนเสาร์อีกหลายๆสายพันธุ์ใน Jurassic World นะครับ ถิ่นที่อยู่จะอยู่แถบๆอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์กินพืช ความสูงประมาณ 2 เมตร ความยาวตั้งแต่หัวเหม่งๆของมันจรดปลายหางก็ประมาณ 5 เมตร น้ำหนักประมาณครึ่งตันครับ

          หัวเหม่งๆของมันเอาไว้ป้องกันตัว ก็คือเอาไว้พุ่งชนนั่นแหละ มีข้อสัณนิษฐานว่ามันยังเอาไว้พุ่งชนพวกเดียวกันเองเพื่อแย่งตัวเมียด้วย เหมือนสังคมของสัตว์กินพืชทั่วไปนั่นล่ะครับ (แต่บางทฤษฎีก็บอกว่าหัวของมันไม่น่าจะแข็งขนาดนั้น) ลักษณะของการชนของมัน ตั้งแต่กะโหลกศีรษะ คอ กระดูกสันหลัง จะเป็นแนวเส้นตรง ทำให้การพุ่งชนของมันเนี่ยแรงมากๆ ถ้าอ้างอิงจาก The Lost World Jurassic Park จะเห็นได้ว่า ความแรงของการพุ่งชนนี่ ทะลุเหล็กประตูรถเลยครับ นั่นแค่ตัวเด็กนะ!!

          แต่ถ้าใครคาดหวังที่จะเห็นเจ้าตัวนี้ใน Jurassic World ต้องบอกว่าอย่าคาดหวังครับ เพราะมันโผล่มาเพียงฉากเล็กๆเท่านั้นเอง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


Microceratus ไมโครเซราตุส


          เจ้าเขาน้อย จากอดีตกาล เคยมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส แถบๆทวีปเอเชีย พบฟอสซิลครั้งแรกในปี ค.ศ.1983 มันสามารถเดินสองขาได้ บางครั้งก็เดินสี่ขา (ขาหน้าค่อนข้างสั้นสำหรับไดโนเสาร์กินพืชที่ยืนด้วยสองขา) มักอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม เป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก ความยาวจากหัวจรดหางไม่เกิน 1 เมตร น้ำหนักประมาณ 6-7 กิโลกรัม โผล่มาในฉากไดโนเสาร์ขนาดเล็ก ที่เปิดให้เด็กสามารถขี่เล่นได้เสมือนขี่ม้าครับ ถ้ามันมีชีวิตอยู่จริงๆ ก็ไม่น่าจะห่างจากหมาไซส์ใหญ่มากนัก พออุ้มไหว น่ารักน่าชังทีเดียว
Edmontosaurus (เอ็ดมอนโตซอรัส)


          เป็นไดโนเสาร์กินพืชปากเป็ด ฟอลซิลถูกค้นพบครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือ เคยอาศัยอยู่ในช่วงปลายยุคครีเตเชียส เมื่อประมาณ 73 ล้านปีก่อน ทั้งอเมริกาเหนือและแถบๆอเมริกาตะวันตก จากการกระจายตัวของซากฟอลซิล นักบรรพชิวินสัณนิษฐานว่า พวกมันชอบอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่ง และย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ สามารถยืนได้ทั้ง 2 ขา และ 4 ขา เอ็ดมอนโตซอรัสเป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ไม่กี่สายพันธุ์ที่อยู่ทันก่อนยุคสูญพันธุ์ (พวกสามเขา และทีเร็กซ์ก็เช่นเดียวกัน) ความยาวจากหัวจรดปลายหางอยู่ที่ประมาณ 13 เมตร น้ำหนักประมาณ 5 ตัน


Parasaurolophus (พาราซอโรโลฟัส)


          พาราเคยอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือในปัจจุบัน เมื่อปลายยุคครีเตเชียส ประมาณ 73-76 ล้านปีก่อน เป็นสัตว์กินพืช สรีระคล้ายเอ็ดมอน คือ สามารถเดินได้ทั้ง 2 ขา และ 4 ขา แต่พาราจะมีหงอนบนหัว ซึ่งเป็นลักษณะกลวงยาว สัณนิษฐานว่ามีไว้ใช้สำหรับส่งเสียง สื่อสารกัน ความยาวของหงอน เคยพบสูงสุดยาวประมาณ 1.5 เมตรเลยทีเดียว เมื่อยืนขึ้นด้วย 2 ขา จะมีความสูงประมาณ 4 เมตร ความยาวจากหัวจรดปลายหางประมาณ 10 เมตร น้ำหนักประมาณ 4-5 ตัน


          นอกจาก 15 สายพันธุ์หลักๆที่พบได้ในภาพยนตร์ (รวมไปถึง 4 สายพันธุ์ย่อยที่กลายมาเป็นยีนของอินดอมินัส) ทาง Official site ยังปล่อยมาอีก 3 ตัว (แต่ผมไม่เห็นในหนังนะครับ ถ้าใครเห็นก็มาทักท้วงได้ ยินดีแก้ไขให้ครับ) ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อทั้งหมด คาดว่าน่าจะเป็นตัวละครในเกม Jurassic World มากกว่าครับ สำหรับรายชื่อนั้นมีดังต่อไปนี้
Baryonyx



Metriacanthosaurus



Suchomimus
ที่มา  http://pantip.com/topic/33795958

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558

10 อันดับ ไดโนเสาร์นักล่าสุดโหด

อันดับ 10 ไดโนนีคัส

เครื่องจักรสังหารแห่งยุคครีเตเชียส ถูกทำให้สับสนจากหนัง จูราสสิค ปาร์ค ภาคแรก
เวโลซิแรปเตอร์นั้นมีขนาดเท่าสุนัขเท่านั้น นักล่าตัวจริงในจูราสซิค ปาร์ค
ควรเป็นมันมากกว่า แรงกัดที่ทรงพลังยิ่งกว่าจระเข้ ความเร็วที่มากที่สุดตัวหนึ่งในตระกูลโดรมีโอซอร์
ความสูงเท่ามนุษย์ หัวถึงหางยาวได้ ร่วม 3.4 เมตร กรงเล็บเท้ายาว 3 นิ้ว! 

อันดับ 9 อัลกิโลบาเตอร์ฺ

เพิ่มขนาดและความอันตรายขึ้นไปอีก ด้วยความยาวกว่า 5 เมตร และหนักกว่า 500 ปอนด์
แต่มีรูปร่างที่ว่องใวแบบโดรมีโอซอร์ อัลกิโลบาเตอร์จึงถือเป็นฝันร้ายของซอโรพอดขนาดเล็ก
และถ้ามันอยู่ในยุคของเรา เราจะตกอยู่ในอันตรายพอสมควรที่เดียว ถ้าต้องสู้กับมันมือเปล่า
(นักล่าที่ตัวหนักกว่าม้า ยาวเท่ารถเมล์ทั้งคัน แถมยังมีสปีดการล่าสูง เป็นใครก็ต้องระวังตัวหน่อยๆละครับ)

อันดับ 8 คาร์โนทอรัส

แขนที่เล็กจนน่าขำ และแรงกัดที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับขนาดตัว ทำให้คาร์โนทอรัสถูกลดภาพของความแข็งแกร่งที่เคยมีลงไปมาก
...ถ้าไม่ใช่เพราะความยาวร่วม 8 เมตร และน้ำหนักที่มากกว่า 1 ตันนะสิ
มันเน้นการใช้ความเร็วไล่ตาม และกัดซ้ำๆให้เหยื่อเสียเลือดตาย

อันดับ 7
ยูทาห์แรปเตอร์


คาร์โนทอรัสอาจดูมีแขนที่อ่อนแอ และเป็นตัวตลก แต่ไม่ใช่สำหรับยูทาห์แรปเตอร์
กรงเล็บยาว 10 นิ้ว พร้อมฉีกร่างเหยื่อเป็นชิ้นๆ ความยาวหัวถึงหางร่วม 7 เมตร(กลุ่ม BYU เคยรายงานขนาด 11 เมตร)
การกัดด้วยฟันที่แหลมคม บวกกับหางยาวช่วยปรับสมดุลคล้ายชีตาร์ จึงทำให้เจ้านี่เป็นสุดยอดนักล่าแห่งยุคอีกตัว
พวกมันอาจฆ่าเหยื่อที่หนักนับสิบๆตันได้ ด้วยการรวมฝูง เป็นผู้ล่าต้นครีเตเชียสอีกตัว

อันดับ 6


เซราโตซอรัส
คู่ปรับจอมโหดของอัลโล อาจยาวได้ 9 เมตร(แต่ขนาดปกติจะยาวราว 6-7 เมตร มีคนเรียกมันว่า เสือดาวแห่งโลกล้านปี)
เพราะมันออกปฏิบัติการเดี่ยว ต่างจากอัลโลซอรัสที่ล่าเป็นทีม

อันดับ 5

ยินดีต้อนรับ สิงโตแห่งยุคจูราสซิค อัลโลซอรัส นักล่าที่อาจยาวได้ถึง 10 เมตร
มีแรงกัดมหาศาล ฟันที่คล้ายคมมีด และความเร็วในการกัดที่สูง พวกมันถูกสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นผู้ล่าซอโรพอด
แม้จะเทียบที่เร็กซ์ฺได้ยากในด้านขนาด แต่ก็ชดเชยมาด้วยฝูง และความสามารถในการใช้ขาหน้า แถมเจ้านี่ไวด้วยสิ

อันดับ 4 มาพูซอรัส

ความยาว 9-12 เมตร และน้ำหนักตัวร่วม 6 ตัน ทำให้มาพูซอรัส เป็นผู้นำพาฝันร้ายในอเมริกาใต้ได้ไม่ยาก
เป้าหมายการล่าของพวกมัน คือ อาร์เจนติโนซอรัส ยักษ์กินพืชที่อาจยาวถึง 40 เมตร
และหนักได้ร่วม 50 ตัน มาพูซอรัสมีฟันที่ถูกสร้างมา เพื่อการเชือด แต่หั่นเนึ้อเป็นชิ้นๆ คล้ายมีดหั่นสเต็ก
เสียดายที่มันไร้ขาหน้าจึงอันดับต่ำลงไปกว่าตัวต่อๆไปใงละครับ 
อันดับ 3 ไทรันโนซอรัส


มาแล้วกับนักล่าผู้โด่งดัง ที เร็กซ์ จอมทลายเกราะแห่งอเมริกาเหนือ

มีน้ำหนักประมาณ 5-7 ตัน
ถึงแม้ว่าไทแรนโนซอรัส เรกซ์จะมีขนาดใหญ่กว่าไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคจูแรสซิกอย่างอัลโลซอรัส แต่ก็ยังเล็กกว่าสไปโนซอรัสแ
คอของไทแรนโนซอรัส เรกซ์งอโค้งเป็นรูปตัวเอสตามธรรมชาติเหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่นๆ แต่มีขนาดสั้นและล่ำสันเพื่อรองรับหัวที่มีขนาดใหญ่ ขาหน้ามีสองกรงเล็บและว่ากันว่าไว้ใช้พยุงตัวกับกระดูกขนาดเล็กที่เป็นส่วนที่หลงเหลือของนิ้วที่สาม แต่ขาหลังกลับยาวที่สุดเมื่อเทียบตามสัดส่วนของร่างกายในไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดต่างๆ หางยาวและมีน้ำหนักมาก อาจมีกระดูกมากกว่า 40 ชิ้น ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้สมดุลกับหัวที่มีขนาดใหญ่และลำตัวของมัน เพื่อชดเชยขนาดที่ใหญ่โต กระดูกหลายชิ้นจึงกลวงเพื่อลดน้ำหนักตัวลงโดยไม่สูญเสียความแข็งแรงไป

กะโหลกศีรษะของไทแรนโนซอรัส เรกซ์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมีความยาว 1.4 ม.โพรงช่องเปิดขนาดใหญ่ในกะโหลกศีรษะมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักตัวและเป็นที่อยู่ของกล้ามเนื้อที่ยึดติดในกะโหลกเหมือนในไดโนเสาร์กินเนื้อทุกชนิด แต่ในส่วนอื่นของกะโหลกไทแรนโนซอรัสแตกต่างจากไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดอื่น กะโหลกมีขนาดกว้างในส่วนด้านหลังและแคบลงไปทางจมูกเพื่อให้การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาได้ดีเป็นพิเศษ[15][16] กะโหลกศีรษะ กระดูกจมูก และกระดูกอีกสองสามชิ้นเชื่อมต่อกัน เพื่อป้องกันการการเคลื่อนตัวของกระดูก แต่ก็เป็นโพรงอากาศจำนวนมาก (ประกอบไปด้วยช่องว่างขนาดเล็กคล้ายรังผึ้ง) ซึ่งอาจทำให้กระดูกมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นและเบาขึ้น กระดูกที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเหล่านี้เป็นเป็นโครงสร้างสำคัญของวงศ์ไทรันโนซอริดี (Tyrannosauridae) ทำให้การกัดทรงพลังขึ้นซึ่งเหนือกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อวงศ์อื่น[17][18][19] ปลายของขากรรไกรบนเป็นรูปตัวยู (ไดโนเสาร์กินเนื้อวงศ์อื่นส่วนมากมีขากรรไกรบนเป็นรูปตัววี) ซึ่งช่วยเพิ่มจำนวนของเนื้อเยื่อและกระดูกที่ไทแรนโนซอรัสกัดออกมาได้ในหนึ่งครั้ง ถึงแม้ว่าจะเพิ่มแรงตึงเครียดบนฟันหน้าด้วยก็ตาม จากโครงสร้างร่างกาย เราคาดว่า ที เร็กซ์ จะทำตัวแบบไฮยีน่ายักษ์
(ไม่ใช่ไก่ยักษ์แบบที่หลายคนล้อเลียนกัน ถ้าจะคล้ายไก่ ต้องตระกูลโดรมีโอซอร์ อันนั้นมีขนแบบนก แต่ตระกูลนั้นต้องบอกว่าเป็นเหยี่ยวมากกว่า)
2.ซอโรเพกาแนกซ์

นักล่าที่ใหญ่และทรงพลังที่สุดแห่งยุคจูราสสิก การกัดแบบอัลโลซอรัส บวกกันฟันที่คล้ายมีดหั่นเนึ้อ และความเร็วที่สูง
ทำให้มันน่าจะไร้คู่แข่งในการล่าในยุคของมัน อาจยาวได้เกิน 13 เมตร และหนักกว่า 5 ตัน ความเร็วในการวิ่งน่าจะสูงกว่า 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
การพัฒนาการของมัน คาดว่าเพื่อต่อสู้กับฝูงอัลโลซอรัส และฆ่าซอโรพอด
1. สไปโนซอรัส


ที่เจ้านี่ได้นัมเบอร์ 1 ในลิสต์นี้ สืบเนื่องมาจากกรงเล็บที่ยาวกว่า 1 ฟุต ขาหน้าที่ยาวได้มากกว่า 15 ฟุต
และความยาวอาจมากได้เกินกว่า 55 ฟุต แรงกัดสามารถดวลกับทีเร็กซ์ได้สบายๆ มันคือสุดยอดนักล่าแห่งแอฟริกา 
ฝู้อาจฆ่าซอโรพอดหนัก 60 ตัน กินเป็นเมนูได้ไม่ยาก แต่เมนูหลักของมันคือปลาโบราณที่ยาวกว่า 20 ฟุต
กรงเล็บยักษ์ของมัน น่าจะกรีดรถยนต์ขาดเป็นชิ้นไม่ยาก แถมยิ่งได้เร็วยิ่งกว่าจักรยานของมนุษย์


ที่มา http://pantip.com/topic/32724814

ไดโนเสาร์กินพืช

คามาราซอรัส (Camarasaurus)

 วงศ์ คาเมราซอริเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอร์พา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์กินพืช ตระกูลซอโรพอด 4 เท้า มีขนาดลำตัวไม่ใหญ่ มีชีวิตอยู่ในกลางถึงปลายยุคจูแรสซิก เมื่อ 155 -145 ล้านปีก่อน มีความยาวประมาณ 12-18 เมตร กะโหลกศีรษะมีลักษณะสั้นแต่ลึกเข้าไปด้านใน ขากรรไกรมีขนาดใหญ่ คอและหางสั้นกว่าซอโรพอดตัวอื่น ไม่มีปลายหางแส้ ลำตัวกลมหนาและค่อนข้างสั้น แขนขาใหญ่โตมีลักษณะคล้ายเสาหิน ขาหลังยาวกว่าขาหน้าเล็กน้อย มีรูจมูกขนาด ใหญ่เหนือดวงตา เพื่อช่วยในการระบายความร้อนและดมกลิ่น

เคนโทรซอรัส (Kentrosaurus)

ชื่อของมันมีความหมายว่ากิ้งก่าแหลมคม เพราะลำตัวส่วนหน้าของมันมีแผงกระดูอยู่ ส่วนจากหลังถึงหางของมันมีหนามแหลมคมอยู่ อาศัยอยู่ในยุคจูราสสิกตอนปลาย มันยาว 3-5 เมตร พบที่แอฟริกา อาวุธหลักของมันคือหนามยาวหนึ่งคู่ตรงหาง กินพืชเป็นอาหาร
แคมป์โทซอรัส
 (Camptosaurus - กิ้งก่าหลังโค้ง) มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคจูแรสสิค ชื่อนี้มาจากโครงสร้างของของมันที่สามารถยืนตรง 2 เท้าหรือ 4 เท้าก็ได้ ขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก ความยาวประมาณ 6.5 เมตร และ ส่วนสูง 2 เมตรจากพื้นถึงเอว เป็นไดโนเสาร์ในกลุ่มสะโพกนก (Ornithischia) รุ่นแรกๆของกลุ่มสายพันธุ์ที่ต่อไปในสมัยหลังจะวิวัฒนาการไปเป็น อิกัวโนดอน และ ไดโนเสาร์ตระกูลปากเป็ดในสมัยครีเตเชียส มันมีปากตัด เพื่อเอาไว้สำหรับกินพืชในป่า
เป็นไดโนเสาร์ที่ไม่ได้มีขนาดอาวุธป้องกันตัวครบเครื่องแบบสเตโกซอรัส หรือ มีขนาดใหญ่ร่างยักษ์อย่างซอโรพอด ฝีเท้าก็ไม่ว่องไวนักเนื่องจากน้ำหนักตัวที่หนักไป (จนต้องยืน 4 ขา ในบางเวลา) จึงมักกลายถูกล่าเป็นเหยื่อจากพวกไดโนเสาร์กินเนื้อในป่า จนกระทั่งมันเริ่มวิวัฒนาการไปเป็น ไดโนเสาร์ร่างใหญ่ติดอาวุธอย่างอิกัวโน
โคริโทซอรัส (Corythosaurus)
เป็นไดโนเสาร์จำพวกแฮดโดรซอร์ อาศัยช่วงปลายยุคครีเตเซียส เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ขนาด 12 เมตร ริว เท ซูน ฟอสซิลของมันพบที่ทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อแปลว่ากิ้งก่ามงกุฏ ลักษณะปากของโคริโทซอรัสคล้ายกระสุนปืน สามารถกินหินได้อย่างสบาย ๆ เลยทีเดียว มันเป็นหนึ่งในเหยื่อ ที่โปรดปราณ ของ ไทรันโนซอรัส
ซัลตาซอรัส (Saltasaurus)
ซัลตาซอรัส ( กิ้งก่าจากซัลตา ) เป็นไดโนเสาร์ตระกูลซอโรพอด ขนาดเล็กที่เหลืออยู่ถึงปลายยุคครีเตเซียส 75 - 65 ล้านปี และ เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กลงมาอีก คือมีความยาวเพียง 12 เมตร หนัก 7 ตัน
เช่นเดียวกับ ซอโรพอดจำพวกอื่น ซัลตาซอรัสมีฟันแท่งที่ทื่อ ช่วงคอ กับ ส่วนหางที่ยาว แต่ลักษณะเด่นของมันและซอโรพอดยุคหลังอื่นๆคือ ผิวหนังมันมีปุ่มกระดูกเกล็ดผุดขึ้นมาจากหนัง เพื่อประโยชน์เป็นเกราะ ป้องกันลำตัวมันจากนักล่า คล้ายๆกับ ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ ค้นพบเมื่อปีค.ศ.1980
ซิตตะโกซอรัส(Psittacosaurus)
 หรือ ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว มีชีวิตอยู่ในยุคครีเตเชียสตอนต้น พบได้ในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป เป็นสัตว์กินพืช 2 เท้าที่มีขนาดเล็ก เพราะมีความ ยาวลำตัวเพียง 2 เมตร กะโหลกศีรษะแคบ กระดูกแก้มมีลักษณะคล้ายเขา ตาและรูจมูกอยู่ค่อน ข้างสูง จะงอยปากมีลักษณะงองุ้มคล้ายปากของนกแก้ว จึงทำให้มันได้ชื่อว่า "ไดโนเสาร์นกแก้ว" หน้าตาของมันไม่ค่อยดุร้ายเหมือนไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน
ในภายหลัง ได้มีการค้นพบไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่ ที่หมวดหินโคกกรวด อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ปากนกแก้วครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้มีการตั้งชื่อให้กับไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดใหม่นี้ว่า "ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี" เพื่อเป็นเกียรติแด่นเรศ สัตยารักษ์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบซากฟอสซิลดังกล่าว
ไซคาเนีย (Saichania)
 เป็นไดโนเสาร์หุ้มเกราะชนิดหนึ่ง ชื่อของมันมีความหมายว่าสวยงาม อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลาย ตรงที่หางคล้ายมีกระบองติดอยู่ กระบองใช้เป็นอาวุธฟาดศัตรู สาเหตุที่มันได้ชื่อว่างดงามเป็นเพราะฟอสซิลของมันอยูในสภาพสมบูรณ์มาก ยาวประมาณ 7 เมตร กินพืชเป็นอาหาร ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1977

ไดพลอโดคัส (Diplodocus)
 กิ้งก่าสันคู่ วงศ์ ดิพโพลโดซิเด อันดับแยกย่อย ซอโรโพดา อันดับย่อย ซอโรโพโดมอพา อันดับ ซอริสเชีย เป็นไดโนเสาร์ ตระกูลซอโรพอดเช่นเดียวกับ อะแพทโตซอรัสและ มีชื่อเสียงพอๆกัน ในด้านความยาวขนาดตัว ขนาดใหญ่โตเต็มที่ยาว 25-27 เมตร( David Gillete คำนวณขนาดมันว่า ใหญ่ได้มากที่สุด 33 เมตร) แต่หนักแค่ 10-12 ตัน ถือว่าเป็นซอโรพอดที่เบาที่สุด อาศัยอยู่กลางถึงปลายยุคจูแรสซิก 150 - 147 ล้านปีก่อน
ไดพลอโดคัส เป็นสายพันธุ์ที่แยกประเภทได้ง่าย เนื่องจาก ลักษณะตามแบบไดโนเสาร์ ศีรษะขนาดเล็ก เตี้ย และเอียงลาด ตาลึก รูจมูกอยู่เหนือตา จมูกกว้าง คอและหางยาว ปลายแส้ที่หางยาวมากกว่า อะแพทโตซอรัส ขา 4 ข้างที่ใหญ่โตเหมือนเสา ลักษณะที่โดดเด่นคือ เงี่ยงกระดูกเป็นคู่ที่ยื่นโผล่ออกมาจากกระดูกสันหลังตั้งแต่หลังคอเรียงรายไปถึงหาง
หลายปีก่อน ไดพลอโดคัส เคยเป็น ไดโนเสาร์ที่ตัวยาวที่สุด ขนาดตัวมหึมาของมัน เป็นอุปสรรคระดับหนึ่งต่อนักล่า อย่าง อัลโลซอรัส พบที่อเมริกาเหนือ อยู่ในยุคจูราสสิคตอนปลาย
ไททันโนซอรัส (Titanosaurus)
 จัดเป็นไดโนเสาร์กินพืชในกลุ่มซอโรพอด ลำตัวยาว 9-12 เมตร นำหนัก 13 ตัน เกิดในยุคครีเทเชียสตอนปลาย พบทางตอนใต้ของทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาใต้ ไททันโนซอรัส มีลำตัวขนาดใหญ่ คอยาวหนา หางยาว เดิน 4 ขา เชื่องช้า มักอาศัยอยู่รวม - กันเป็นฝูง กินพืชเป็นอาหาร สมองขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว
ไทรเซอราทอปส์ (triceratops)
 เป็นไดโนเสาร์ที่มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเทเชียสราว 68-65ล้านปีมันเป็น1ในไดโนเสาร์ชนิดสุดท้าย ไทรเซอราทอปส์เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่หนักราว6-8ตันและยาวได้กว่า6-10เมตรโดยทั่วไปแล้วไทรเซอราทอปส์จะกินเฟริน สนซึ่งเป็นพืชเนื้อหยาบมันมีจงอยปากคล้ายนกแก้วไว้ตัดพืช และมันจะกลืนหินไปในกระเพาะเพื่อบดอาหารหินนี้เรียกว่า แกสโตรลิท ไทรเซอราทอปส์มีวิถีชีวิตคล้ายแรดอยู่รวมเป็นฝูงเล็มอาหารเมื่อถูกคุกคามจากนักล่า เช่น ไทรันโนซอรัส จะหันหน้าเป็นวงกลมให้ตัวอ่อนแอและเด็กอยู่ในวงล้อม หากศัตรูเข้ามาทางใดจะพุ่งชนด้วยแรงชนกว่า6ตัน ไทรเซอราทอปส์มีเขา3เขาอยู่บนหัวเขาแรกยาว20เซนติเมตรอยู่เหนือจมูก ส่วน2เขาหลังอยู่ที่ตายาวราว1เมตรแทงเพียงครั้งเดียวอาจถึงตาย บางตัวเขาอาจยาวกว่า2เมตร แต่ด้วยพละกำลังและขนาดเป็น2เท่าของช้างนักล่าส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยโจมตีมัน แต่มันมีจุดอ่อนที่แผงคอทำให้มันมองหลังไม่ดีแต่หากโจมตีข้างหน้าสถานการจะกลับกัน ไทรเซอราทอปส์กินค่อนข้างมากเฉลี่ยถึง500กิโลกรัม มันมีชื่อเสียงพอๆกับที-เร็กซ์และมักเห็นภาพมันเข้าปะทะกับที-เร็กซ์ทำให้เจ้า3เขาตัวนี้ได้คำขนานนามว่า คู่ปรับแห่งราชาไดโนเสาร์ นอกจากนี้มันยังเป็นพระเอกในการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องไดโนคิง (DINOSAUR KING) อีกด้วยไทรเซอราทอปส์มีชื่อเต็มว่าไทรเซอราทอปส์ ฮอริดัส ฟอสซิลของไทรเซอราทอปส์ตัวแรกพบโดยมารช์คู่แข็งของโคป ในสงครามกระดูก
เทอริสิโนซอรัส (Therizinosaurus
เป็นไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดชนิดหนึ่ง โดยสายพันธุ์นี้จะไม่กินเนื้อ แต่จะกินพืช มันกินพืชเพราะลักษณะของฟันมัน ทำให้เทอริสิโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดที่กินพืช เทอริสิโนซอรัสอาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อ 72-68 ล้านปีก่อน ค้นพบฟอสซิลที่ประเทศจีน มองโกเลีย และตะวันออกกลางลักษณะเฉเพาะของเทอริสิโนซอรัสที่ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่ามันกินเนื้อคือ มันเล็บที่ยาวกว่า 70 เซนติเมตร และเดินสองขาเหมือนไดโนเสาร์กินเนื้อ ทำให้ตอนแรกมันถูกคิดว่าเป็นพวกกินเนื้อ แต่ในปัจจุบัน มันจัดอยู่ในไดโนเสาร์กินพืช เนื่องจากลักษณะฟันที่เป็นซี่เล็กๆเรียงกัน ใช้ไม่ได้กับการกัด หรือเคี้ยวเหนือ ส่วนเล็บที่มันมีก็ไม่เหมาะกับการฉีกเหยื่อ เพราะเบาะบางเกินไป ดังนั้นเล็บที่ยาว 70 เซนติเมตรของมัน จึงใช้ในการตัดใบไม้ลงมาจากต้น หรือป้องกันตัวโดยการขู่เท่านั้น นอกจากมันจะมีลักษณะเฉเพาะคือเล็บของมันแล้ว มันยังมีขาหน้าที่ยาว 2 เมตรด้วย ทั้งๆที่มันเดินด้วยขาหลัง ส่วนความยาวของมันน่าจะยาวประมาณ 7-9 เมตร

ที่มา  https://sites.google.com/site/dinosaur1385/dinosear-kin-phuch